Inter Math-English

Special!!! Inter Math-English Tutor for Bilingual Students "รับสอนพิเศษ คณิต อังกฤษ" เด็กนานาชาติ
สอนโดย นร.ทุน ป.โท ประเทศอังกฤษ สอนจากประสบการณ์จริง 0814288836 คิตตี้

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ผู้วางแผนการเงินส่วนบุคคล หรือ ที่ปรึกษาทางด้านการเงินส่วนบุคคล financial planner


http://www.bangkokwealth.com/financial_planner/planner2.htm


นักวางแผนการเงิน : วิชาชีพใหม่ในประเทศไทย ด้วยมาตรฐานสากล

หากถามถึงวิชาชีพด้านการเงินที่กำลังเป็นที่ต้องการในประเทศไทยในขณะนี้ ผมเชื่อว่าหนึ่งในนั้นจะต้องมี “ นักวางแผนการเงิน (financial planner)” อยู่ด้วยแน่นอน... ในปัจจุบัน ประชาชนไทยไม่ว่าจะมีฐานะการเงินระดับใดก็ตาม ต่างมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการออมและการลงทุนมากขึ้น เพื่อให้บรรลุความตั้งใจของตนเองไม่ว่าจะเป็นการเก็บไว้ใช้สอยยามเกณียณอายุ

การซื้อบ้านเตรียมสร้างครอบครัว หรือเพื่อเป็นทุนการศึกษา เป็นต้น ความตั้งใจนั้นคือเป้าหมายทางการเงินของแต่ละบุคคล และการมีนักวางแผนการเงินมาช่วยวิเคราะห์ ให้คำแนะนำ ดำเนินการ และติดตามผล จะช่วยเพิ่มโอกาสบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้มากยิ่งขึ้น

มาตรฐานสากลของวิชาชีพนักวางแผนการเงิน
แม้ในปัจจุบันจะมีผู้ประกอบวิชาชีพบางรายระบุว่าตนเองเป็นนักวางแผนการเงิน แต่มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ให้บริการด้วยองค์ความรู้และขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน ทั้งนี้ มาตรฐานวิชาชีพนักวางแผนการเงินที่มีชื่อเสียงในระดับสากลคือ Certified Financial Planner (CFP) ภายใต้การดูแลของ Financial Planning Standards Board Ltd. (FPSB) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงกำไร ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพนักวางแผนการเงินด้วยคุณสมบัติ 4Es

- คือการเรียนรู้ (Education)
- การทดสอบ (Examination)
- ประสบการณ์ (Experience)
- และจริยธรรม (Ethics)

โดยองค์กรชื่อ Certified Financial Planner Board of Standards Inc. (CFP Board) ในประเทศสหรัฐฯ ได้ริเริ่มการกำหนดมาตรฐานและการใช้คุณวุฒิ CFP ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ซึ่งต่อมา CFP Board ได้ช่วยเหลือสถาบันนักวางแผนการเงินใน 17 ประเทศก่อตั้ง FPSB ขึ้นในปี พ.ศ.2547 ปัจจุบัน FPSB มีสมาชิกที่เป็นสถาบันนักวางแผนการเงินเพิ่มขึ้นเป็น 23 ประเทศ และมีผู้ประกอบวิชาชีพที่แสดงตนด้วยคุณวุฒิ CFP มากกว่า 105,000 ราย

นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่ สมาคมนักวางแผนการเงินไทย ( Thai Financial Planners Association หรือ TFPA) ได้รับการตอบรับเข้าเป็นสมาชิกสมทบ (associated member) ของ FPSB เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 โดย TFPA อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อยกสถานะขึ้นเป็นสมาชิกสามัญ (affiliate member) ในปี 2551 อันจะทำให้ TFPA เป็นองค์กรเดียวในประเทศไทยที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตการใช้คุณวุฒิ CFP และการเป็นส่วนหนึ่งของ FPSB จะทำให้มั่นใจได้ว่าวิชาชีพนักวางแผนการเงินภายใต้การดูแลของ TFPA นี้จะเป็นไปตามมาตรฐานสากล

ในส่วนของสถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นั้น ได้ให้ความสนใจกับการวางแผนการเงินมาเป็นเวลานาน โดยได้ช่วยเหลือชมรมนักวางแผนการเงินไทย (Thai Financial Planners Club) ในการดำเนินการจัดตั้งสมาคมฯ และผลักดันการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบกับ FPSB ได้เป็นผลสำเร็จ นอกจากนี้ TSI ยังได้ศึกษากรอบการเรียนรู้ตามมาตรฐาน FPSB และกำหนด หลักสูตรนักวางแผนการเงินไทย ขึ้น เพื่อร่วมพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพนักวางแผนการเงินต่อไป

Main Story: TFPA โรงเรียนนักวางแผนการเงิน

อีกไม่นานหลักสูตรนักวางแผนทางการเงิน ( CFP) ในประเทศไทยจะเริ่มเปิดแล้ว ภายใต้การดูแลของสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ( TFPA) สมาชิกของ Financial Planner Standard Board (FPSB) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลหลักสูตร CFP ระดับนานาชาติ

พันธ์ศักดิ์ เวชอนุรักษ์ ประธานระบบการศึกษาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้มีแนวคิดริเริ่มจัดตั้งสมาคมนักวางแผนการเงินไทย บอกกับ M&W ว่าคนไทยไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการวางแผนการเงินพื้นฐาน แต่หากมีวิชาชีพนักวางแผนทางการเงินจะสามารถช่วยเหลือคนไทยในเรื่องดังกล่าวได้

เขาบอกว่าเสาหลักตลาดเงิน ตลาดทุนของไทยทั้งธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และบริษัทประกันชีวิต ได้เข้ามาเป็นสมาชิกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย เนื่องเพราะมองเห็นความสำคัญของการวางแผนการเงิน อีกทั้งธุรกิจบริหารความมั่งคั่งหรือ Wealth Management มีแนวโน้มที่ดีในตลาดเมืองไทย

“ นักวางแผนการเงินจะวางแผนการเงิน ไม่ใช่นักบริหารพอร์ตการเงิน ” คุณพันธ์ศักดิ์ ชี้

“ นักวางแผนการเงินต้องมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญของวิชาชีพนี้ ”
เรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ “ ผมอยากเห็นความเป็น Professional”

เรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกวิทย์ จำกัด ยอมรับว่าทุกวันนี้ส่วนใหญ่คนที่อยู่ในแวดวงอาชีพการเงินทำงานแบบ “ คนขายของ ” เพราะโดยจริงๆ แล้วนักวางแผนการเงินที่ดีจะต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาที่สามารถให้คำแนะนำ และจัดหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับพื้นฐานและความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

“ สิ่งที่เราเห็นในทุกวันนี้คือ ทุกคนจะขายสินค้าทางการเงินของค่ายตัวเอง แต่ในอนาคตสินค้าทางการเงินทั้งหมดจะมารวมกัน ภายใต้คำแนะนำของนักวางแผนการเงินที่จะถูกผลิตออกมา นี่คือสิ่งที่สมาคมนักวางแผนการเงินไทยกำลังทำงานอยู่ ”

ในเบื้องต้น 5 ปีนับจากนี้ สมาคมนักวางแผนการเงินไทยจะผลิตนักวางแผนการเงินออกมาได้ประมาณ 800 คน ถือเป็นงานหนักและไม่ง่าย ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะบุคลากรที่มีในอนุญาตให้คำแนะนำการลงทุน ( Single License) ราว 24,000 คน ตัวแทนขายประกันชีวิตอีกกว่า 3 แสนคน

สำหรับเป้าหมายของสมาคมนักวางแผนการเงินไทยในปีนี้ คุณเรืองวิทย์บอกว่าจะต้องผลักดันให้เข้าเป็นสมาชิกถาวรของ FPSB ให้ได้ “ ที่ผ่านมาคณะทำงานต้องทำงานอย่างหนักเพื่อแสดงความพร้อม โดยเฉพาะการจัดประชุมเพื่อกำหนด Business Plan โดยการระดมความเห็นของผู้บริหารสถาบันการเงินทั้งหมดเข้าร่วม ”

ปัจจุบัน สมาคมนักวางแผนการเงินไทยเป็นสมาชิกสมทบของ FPSB แล้ว หลังจากคุณเรืองวิทย์ บินไปนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้งสมาคมที่บราซิลเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา

คุณเรืองวิทย์ บอกว่าเหตุผลสำคัญที่ทำให้สมาคมนักวางแผนการเงินไทยเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีความพร้อมที่สุด นอกจากการได้รับความช่วยเหลือด้านข้อมูลจากสมาคมนักวางแผนการเงินฮ่องกง และอินโดนีเซียแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สำหรับแผนงานการก้าวสู่การเป็นสมาชิกถาวรของ FPSB ในขั้นแรกคณะทำงานจะต้องเขียนแผนงานการทำงานของสมาคม เช่น การออกข้อสอบ การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการสอนเพื่อนำเสนอให้ทันการประชุมครั้งแรกของ FPSB ในเดือนเมษายนนี้ แต่หากไม่ทันก็ต้องรอในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่สองของ FPSB และหากแผนงานผ่านการเห็นชอบจะจัดทำหลักสูตร CFP ครั้งแรก ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในปลายปีนี้

กระนั้นก็ดี เขายอมรับว่าสมาคมนักวางแผนการเงินในไทยเริ่มค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน หรือไทเป ส่วนที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก FPSB เป็นประเทศที่ตลาดการเงินยังไม่โต เช่น บรูไน เวียดนาม หรือฟิลิปปินส์

ทว่า จากนี้เป็นต้นไปสมาคมนักวางแผนการเงินไทยจะเติบใหญ่อย่างรวดเร็วและแข็งแกร่ง ด้วยการสนับสนุนจากเสาหลักในตลาดเงิน ตลาดทุน ทั้งในเชิงวิชาการ บุคลากร และด้านเงินทุน

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ “ นักวางแผนการเงินจะมีความสำคัญมากขึ้น ”

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ รองประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย หนึ่งในคณะผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมนักวางแผนการเงินไทย และล่าสุดได้รับการคัดเลือกเป็นนายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย กล่าวว่า ความสำคัญของอาชีพนักวางแผนการเงิน มาจากโครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป เป็นครอบครัวเดี่ยวทำให้การดูแลตัวเองของสังคมไทยเริ่มมีให้เห็นชัดเจนขึ้น ประกอบกับค่าครองชีพขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ เชื่อหรือไม่ว่าคนอายุ 30 ปี ไม่สามารถเลี้ยงดูพ่อแม่ได้อย่างเต็มที่ เพราะว่ามาตรฐานค่าครองชีพสูงขึ้น ขณะที่รายได้ขยับขึ้นตามไม่ทันทำให้การวางแผนการเงินเริ่มมีบทบาทในชีวิตคนไทยมากขึ้น ”

นอกจากโครงสร้างสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ด้านตลาดเงิน ตลาดทุนสลับซับซ้อนมากขึ้นด้วย จากอดีตการออมเป็นเรื่องง่ายแสนง่าย แค่นำเงินไปฝากธนาคารพาณิชย์แล้วนั่งรอรับดอกเบี้ยทุกๆ สิ้นเดือน แต่วันนี้โลกการออม การลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

“ คนไทยอีกหลายคนที่ไม่รู้จักพันธบัตรรัฐบาล ”
คุณวิวรรณ เล่า “ การออมจึงไม่ใช่แค่ฝากแบงก์อีกต่อไป ด้วยเหตุนี้นักวางแผนการเงินจึงมีความสำคัญต่ออนาคตทางการเงิน ถ้าคุณมีการวางแผนที่ดี โอกาสที่จะมีเงินใช้ในบั้นปลายชีวิตอย่างสบายจะมีมากขึ้น ”

คุณวิวรรณ ยกตัวอย่างเกี่ยวกับทัศนคติของคนไทยต่อการออมเพื่อวัยเกษียณว่าทุกวันนี้ดีขึ้นมากจากอดีตที่ยังมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว บางคนบอกว่าตัวเองเพิ่งอายุ 25 ปีเท่านั้นยังไม่ถึงเวลานั่งคิดเรื่องการออมเพื่อวัยเกษียณ

“ ยอมรับว่าทัศนคตินั้นดีขึ้น แต่เมื่อเทียบกับประชากรโดยรวมของประเทศยังน้อยมาก ” เธอ บอก

“ หากจะกระตุ้นให้คนไทยเห็นความสำคัญของการออมเพื่อเกษียณต้องโฆษณาให้เห็นถึงด้านดี และอีกทางต้องขู่เพื่อชี้ให้เห็นถึงความน่ากลัวของการเพิกเฉยต่อการออมเพื่อวัยเกษียณ ”

คุณวิวรรณ ยกตัวอย่างอีกว่า
พนักงานเอกชน กับข้าราชการมีแนวคิดในการวางแผนการเงินแตกต่างกันมาก หากพูดถึงครอบครัวที่อยู่ในแวดวงข้าราชการ มักจะมองว่าตัวเองมีหน่วยงานทางการคอยให้ความดูแลเกี่ยวกับด้านการออมเพื่อเกษียณ “ พวกเราพยายามบอกข้าราชการตลอดเวลาว่าถ้าคุณไม่วางแผนการเงิน คุณอาจจะเสียโอกาสในการลงทุน ซึ่งคนที่มีเงินน้อยมักจะเสียโอกาสในการลงทุนอย่างมาก คือ ต้องวางแผนการเงินเอาไว้ในยามฉุกเฉินทั้งด้านดีและด้านร้าย ” คุณวิวรรณ กล่าว

ขณะที่ครอบครัวที่มาจากส่วนภาคเอกชน ทุกวันนี้มักจะคิดว่าไปเก็บเงินเพื่อเกษียณช่วงอายุ 40 ปี ซึ่งถือเป็นความคิดที่ผิด เพราะความจริงแล้วต้องคิดออมเงินเพื่อเกษียณตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยทำงาน แต่ถ้าออมเงินในช่วงอายุมากแล้ว ก็ต้องเก็บเงินต่อเดือนจำนวนมากขึ้นเพื่อให้มีเงินเพียงพอต่อการใช้ชีวิตในวัยเกษียณ

ถึงแม้ว่าแต่ละคนจะสามารถคิดและวางแผนการเงินของตัวเองได้ แต่ด้วยโลกการออม การลงทุนมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น

ดังนั้นหากมีนักวางแผนการเงินเข้าไปช่วยในการให้คำปรึกษาจะเป็นการช่วยรักษาและเพิ่มเงินออมให้เกิดขึ้นได้

สุวภา เจริญยิ่ง “ ไม่วางแผนการเงิน ชีวิตจะลำบาก ”

“ สินค้าทางการเงินจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการวางแผนการเงินต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ”
สุวภา เจริญยิ่ง กรรมการผู้จัดการ บล.ธนชาต หนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งสมาคมนักวางแผนการเงินไทย กล่าว

ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากไม่มีการวางแผนการเงินจะค่อนข้างลำบาก เมื่อเป็นเช่นนี้โจทย์ที่ตามมาอยู่ที่ อะไรคือคำตอบที่ดีที่สุด
นั่นคือ การรู้จักการวางแผนทางการเงิน

“ ต้องยอมรับว่าคนไทยออมเงินเก่งมาก จนเกิดภาวะเงินล้นแบงก์จากการที่คนไทยนำเงินไปออมเอาไว้ สาเหตุเพราะคนไทยยังไม่ค่อยกล้านำเงินไปออมหรือลงทุนในช่องทางอื่นๆ ” คุณสุวภา เล่า

เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากคนไทยไม่สามารถก้าวออกจากการฝากออมไว้กับธนาคารพาณิชย์ เพราะไม่มีใครให้ความรู้ ความเข้าใจกับช่องทางการเงินอื่นๆ จนทำให้เกิดความไม่ไว้ใจ ถึงแม้ว่าจะมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่น่าสนใจออกมานำเสนออย่างต่อเนื่องก็ตาม ประกอบกับคนบางกลุ่มไม่มีเวลาในการดูแลจัดการเงินของตัวเอง

แม้จะมีการบริการจากที่ปรึกษาทางการเงิน คุณสุวภาให้ความเห็นว่าควรจะมี Financial Planner เพื่อเข้ามาให้บริการเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน ด้วยเหตุนี้สมาคมนักวางแผนการเงินไทยจึงถูกสร้างสรรค์ขึ้น

นักวางแผนทางการเงินทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนการเงินแบบครบวงจร โดยเป็นทั้ง Wealth Creation และ Wealth Protection “ ทุกวันนี้จะได้ยินคำว่า Asset Allocation และ Stock Selection ซึ่งการที่จะเลือกลงทุนได้ อันดับแรกจะต้องแบ่งเงินให้ดี และนักวางแผนการเงินจะทำหน้าที่ด้าน Asset Allocation ให้กับคุณ ”

นักวางแผนการเงินจะบอกว่าคุณมีเงินเก็บ 1 ล้านบาท แล้วภายในไม่กี่ปีเงินจำนวนนี้สามารถงอกเงยสูงขึ้นเป็นเท่าไร หากคุณมีวินัยในการวางแผนการเงินที่ดีพอ ยกตัวอย่างเช่น ช่วงอายุ 18-30 ปี เก็บเงินปีละ 10,000 บาท (เก็บเงินเดือนละประมาณ 833 บาท) อายุ 31-65 ปี เก็บปีละ 20,000 บาท (เก็บเงินเดือนละประมาณ 1,666 บาท) โดยให้เงินเก็บนี้มีผลตอบแทนปีละ 10% ผลลัพธ์เมื่ออายุ 65 ปี มีเงินเก็บทั้งสิ้น 11 ล้านบาท

ถ้าหากว่าถ้าเก็บเงินปีละ 100,000 บาท ในช่วงอายุ 18-30 ปี (เก็บเงินเดือนละประมาณ 8,333 บาท) และเก็บปีละ 200,000 บาท ในช่วงอายุ 31-65 ปี (เก็บเงินเดือนละประมาณ 16,666 บาท) ด้วยผลตอบแทน 10% ต่อปี อายุ 65 ปี มีเงินเก็บ 112 ล้านบาท

มีคนบอกว่าผลตอบแทนปีละ 10% มีความเสี่ยงสูง ความจริงแล้วหากแบ่งเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี แล้วนำเงินอีกส่วนไปซื้อประกันชีวิต ซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้ ซื้อ LTF และลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง 2-3 ตัว ผลตอบแทนในแต่ละปีน่าจะอยู่ที่ระดับที่น่าประทับใจ หรือหากมีโบนัสก็สามารถนำไปเพิ่มการลงทุนได้

นี่เป็นคำแนะนำของผู้ที่ประกอบวิชาชีพนักวางแผนการเงินซึ่งจะบอกแต่ละคนว่าควรจะแบ่งเงินอย่างไรให้เหมาะสม ซึ่งพวกเขาและเธอต้องรู้ไลฟ์สไตล์ในเรื่องชีวิตประจำวันและเงินในกระเป๋าของแต่ละคนเป็นอย่างดี

“ นักวางแผนการเงินจะขยับเข้าสู่คำว่า Open Architecture
หมายถึงว่าพวกเขาไม่ได้จำกัดในการขายสินค้าทางการเงินเฉพาะของตัวเองเท่านั้น ” คุณสุวภา บอก

ทุกวันนี้นักวางแผนการเงินเป็นที่ต้องการของคนไทยอย่างมาก เพราะคนรุ่นใหม่เริ่มต้นทำงานจะได้เงินเดือนสูงๆ แต่กลับไม่สามารถรักษาเม็ดเงินเอาไว้ได้ บางคนเดือนชนเดือน บางคนติดลบ ดังนั้นนักวางแผนทางการเงินจะให้คำแนะนำได้ว่าคุณจะต้องวางแผนการเงินอย่างไร

นักวางแผนการเงินจะบอกว่าอะไร คือ ความเหมาะสมที่ดีที่สุดสำหรับการวางแผนการเงิน ทั้งด้าน Wealth Creation และ Wealth Protection เพราะทุกวันนี้คนไทยจะให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินแบบไม่สอดคล้องกับชีวิตของตัวเอง เพราะขึ้นอยู่กับว่าใกล้ชิดกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทไหนมากที่สุด เช่น ใกล้ชิดกับตลาดหุ้นอาจจะลงทุนในหุ้น ถ้ามีพี่น้องทำงานบริษัทประกัน เงินอาจจะจมกับประกันชีวิตเกือบทั้งหมด

“ ทุกสินค้าทางการเงินมีข้อดี และข้อด้อย คุณต้องสร้างความสมดุลให้ได้ แต่ในกระบวนการสร้างความสมดุลนั้นคุณรู้หรือไม่ ถ้าไม่รู้ต้องใช้บริการนักวางแผนการเงิน ” คุณสุวภา บอก

ถึงแม้ใครก็ก็ตามที่ยังไม่เริ่มต้นวางแผนการเงิน ไม่มีคำว่าสายเกินไป คุณสามารถเริ่มต้นวางแผนได้ทุกวัน เพราะการพึ่งพาตัวเองด้านการวางแผนการเงินเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อโครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป คุณต้องดูแลตัวเองมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรคุณยังมีผู้ช่วยที่ยืนอยู่เคียงข้าง...นักวางแผนการเงิน

เรียบเรียงจาก Main Story โดย ฐิติเมธ โภคชัย และจิราพร เพ็งจันทร์ นิตยสาร M&W ฉบับเดือนมกราคม 2551


กลับไปหน้่า 1

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

It's me

Green Industry 2012 รับใบประกาศ

สอบมาหลายด่าน และแล้วก็ได้ซะที...