2009/5/18 <bandish.k@psu.ac.th>
>สวัสดีครับ คุณกิติมา
ผมคิดว่างานหรือปัญหาที่จะต้องวางแผนแก้ไขบริเวณ
ชายฝั่งทะเล นอกจากขยะทั้งบนหาด น้ำเสีย และขยะใต้น้ำแล้ว
ก็มีเรื่องระบบนิเวศ จาการบุกรุกหรือใช้พื้นที่ใกล้ชายฝั่งอย่างหนาแน่น
ซึ่งจริงๆแล้วควรมีกฎหมายกันพื้นที่ติดกับชายฝั่งไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิน
ปัญหาที่รุนแรงอีกปัญหาหนึ่งคือ น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ภาคใต้มีหลายแห่ง
ต้องทำเขื่อนกั้นหรือกำลังจะใช้อะไรที่เหมือนปะการังเทียมวางใต้น้ำเพื่อลดความแรงของกระแสน้ำ
อีกอย่างที่น่าสนใจที่ใครๆมองข้ามคือ ภูมิทัศน์ชายฝั่งทะเล ชายหาดซึ่งเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวของไทยเกือบทั้งหมดก็ว่าได้มีภูมิทัศน์ไม่สวย
ตั้งแต่การออกแบบถนนที่เข้าไป ต้นไม้สองข้างทาง ต้นไม้ใกล้ๆชายหาด
ต่างประเทศมีปาล์ม มะพร้าว ที่มนุษย์จัดวางอย่างสวยงาม
แต่ของไทยเป็นไปตามยถากรรม หลายแห่งมีบ้านเรือนหนาแน่น มองดูแล้วรกรุงรัง
เมื่อวานผมไปเที่ยวที่ทะเลน้อย พัทลุง ก็เป็นภาพแบบนี้
ถ้าหากมีการออกแบบจัดภูมิทัศน์สวยๆ มันเป็นงานชิ้นเอกดีๆนี่เอง ซึ่งเทศบาล
อบต. เจ้าของท้องที่คิดไม่ถึง ว่าจะต้องทำ พอนึกออกนะครับ
สาขาวิทยาศาตร์ทางทะเลกับวิศวะจะมาเชื่อมโยงกันจากปัญหาดังกล่าว
คุณควรวางแผนเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเหล่านี้
เอาเรื่องการจัดการขยะกับการออกแบบภูมิทัศน์(ทั้งวิวทิวทัศน์และ ถนน
อาคารบ้านเรือนด้วย)ซึ่งเป็นการจัดการระบบนิเวศใกล้ชายฝั่ง สร้างงานวิจัย
โดยทำโมเดลต้นแบบ คุณอาจจะเป็นคนแรกที่ทำเรื่องนี้ครับ
ถ้าคุณทำงานในมหาวิทยาลัย ก็มีโอกาสทำวิจัยมาก (ไฟล์ประวัติเปิดไม่ได้ครับ
เลยไม่รู้ว่าคุณทำงานอะไร ที่ไหน)
ท้ายนี้ก็ดีใจครับ คุณสำเร็จการศึกษาและกลับมาช่วยสังคมไทยให้ดีขึ้น
บัณฑิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น