Inter Math-English

Special!!! Inter Math-English Tutor for Bilingual Students "รับสอนพิเศษ คณิต อังกฤษ" เด็กนานาชาติ
สอนโดย นร.ทุน ป.โท ประเทศอังกฤษ สอนจากประสบการณ์จริง 0814288836 คิตตี้

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทบาทวิศวกรในภาวะโลกร้อน Engineers  Role  in  Global  Warming

บทบาทวิศวกรในภาวะโลกร้อน

Engineers  Role  in  Global  Warming

1.  บทนำ (Introduction)

               ในภาวะโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ  ทำให้หลายๆ  ฝ่ายหันมาสนใจและคิดว่าจะมีปัญหาอะไรที่ตามมาอีกในภาวะเช่นนี้  และอีกนานเท่าไร บางคนก็ได้แต่กลัวแต่ไม่ไม่ได้เห็นมีมาตรการแก้ไขปัญหาหรือวิธีการหลบเลี่ยงอย่างไร บางคนก็ไม่เชื่อและก็ไม่กลัว ฟังสนุกๆ  ทั้งไม่แก้และไม่หนีบางทีก็มองเป็นเรื่องตลกขบขันมากกว่า  บางคนก็กลัวแต่ก็พยายามไปแก้ที่ปลายเหตุและไม่ตรงกับที่คัน(ตรงเหตุ) บางคนก็กลัวแล้วก็พูดอย่างเดียว

               การแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุมีผลในปัญหาโลกร้อนอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์โดยใช้วิศวกรรมมาช่วยปัญหาจึงเป็นอีกทางเลือกใหม่ที่จะทำให้โลกพ้นจากภัยพิบัติครั้งนี้

 

2.  ปัญหาโลกร้อน (Earth Warming Problems)

         เมื่อก่อน  30  ปีที่แล้ว  การปลูกต้นไม้นั้นง่ายมาก ปลูกอย่างไรก็ขึ้น ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล  ชุ่มชื้น  อากาศไม่ร้อนจัด  แต่ปัจจุบันนี้เริ่มแห้งแล้งแดดจัด  ปลูกต้นไม้ต้องดูแลอย่างดี มิเช่นนั้นตายหมด และอนาคตก็จะยากขึ้นเรื่อยๆ จากภาวะโลกร้อน

               เมื่อ  30  ปีก่อนจำได้ว่าทำงานราชการอยู่ไม่มีแอร์เลยสักตัวมีแต่พัดลม ต้องมีหินทับกระดาษกันลมพัดปลิว  เดี๋ยวนี้อยู่ไม่ได้  ใช้แอร์กันหมดทั้งสำนักงาน

               อีกเช่นกันเมื่อ  30  ปี  ที่แล้วขับรถยนต์ ปิกอัพเปิดหน้าต่าง  ไม่มีแอร์ก็ยังขับได้  เดี๋ยวนี้รถทุกคันต้องติดแอร์

               เมื่อ  30  ปีที่แล้วเคยท่องจำว่าประชากรคนไทยมี  20  ล้านคน  เดี๋ยวนี้  60  ล้านคน  ราคาทองคำแค่  400  บาท/บาท  เดี๋ยวนี้  12,000  บาท/บาท  ราคาบ้านแค่  100,000  บาท  เดี๋ยวนี้  6-10  ล้านบาท/หลัง  เคยจำได้ว่าถ่านหินจะมีใช้ได้  200  ปี  เดี๋ยวนี้บอกว่าเหลือแค่  50  ปี

               นี่แค่  30  ปี  ผ่านมาในยุคมนุษย์กึ่งพุทธกาล  (2500)  ได้ทำลายความสมดุลโดยการบริโภคอย่างไม่หยุดยั้ง จนทรัพยากรจะหมดในยุค  100  ปี  แห่งอายุขัยของเรา ทำไมมนุษย์เราจึงมีพฤติกรรมบริโภคแบบล้างผลาญเช่นนี้

 

3.  บทบาทการแก้ปัญหาโลกร้อน (Corrective Actions)

               มีการพูดคุยกันในระดับโลก  ระดับประเทศ  จนถึงกลุ่มข้าราชการ  เกษตรกรรม  อุตสาหกรรม  ประชาชนทั่วไป  แต่ดูเหมือนไม่จริงจังมากนัก ทำเป็นเพียงแค่แฟชั่นเพราะคิดว่าภัยยังไม่ใกล้ตัว ยังรอได้อยู่

 

 

 

4.  ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (Impact from Earth Warming)

               ผลกระทบจากโลกร้อนมีหลายๆ  คนกลัวนักกลัวหนาว่า  จะเกิดผลกระทบดังนี้

         1.  น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมาท่วมพื้นที่ดินที่ราบต่ำริมทะเล  อาจต้องอพยพย้ายถิ่นฐานใหม่

               2.  เกิดโรคระบาดและมีเชื้อโรคพันธุ์ใหม่ๆ  ที่ยากรักษา

               3.  อากาศร้อนขึ้นเรื่อยๆ  จนคนทนไม่ไหว ต้องตายไปบางส่วน

               4.  พืชพันธุ์สัตว์บางชนิดอาจสูญพันธุ์หรือหายไปจากพื้นที่ โดยเฉพาะหมีขั้วโลก  ปลาใต้น้ำแข็ง

               5.  เกิดสงครามมนุษย์เพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่เหลืออยู่และแย่งพื้นที่ทำกิน

               6.  อายุคนสิ้นลงและเป็นมะเร็งได้ง่าย

 

5.  อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Causation)

               โลกร้อนเกิดจากภาวะเรือนกระจก  (Green  House  Effect)  เรือนกระจกนั้นเป็นเรือนเพาะชำปลูกต้นไม้ของฝรั่งเขา เมืองเราเปรียบเทียบอย่างนี้ไม่ได้ เพราะเรือนเพาะชำของเราเป็นห้องตะข่ายสแลน ไม่ใช่กระจก  ลองเปรียบเทียบกับรถเก๋งจะชัดเจนกว่า

               จอดรถเก๋งปิดกระจกเอาปรอทวัดอุณหภูมิทิ้งไว้จะพบว่าอุณหภูมิในรถจะสูงขึ้นเรื่อยๆ  ตามเวลา  ตัวรถจะร้อนอากาศในรถก็ร้อน หากมีเด็กถูกขังในรถเก๋งตากแดดไว้ เคยมีเด็กตายมาหลายครั้งแล้ว  ภาวะเช่นนี้เหมือนภาวะเรือนกระจก หากมีการแง้มกระจกลง  ภาวะอากาศร้อนในรถเก๋งก็จะเบาบางลง

               สิ่งของในรถเหมือนโลก คนอยู่ในรถก็เหมือนมนุษย์ทั่วไป ตัวกระจกและโครงหลังคาเปรียบเสมือนเรือนกระจก  หรือชั้นแก๊สโอโซนและแก๊สเรือนกระจกที่เป็นเปลือกห่อหุ้มโลกไว้

               ในขณะที่โลกเคลื่อนที่ไปในอวกาศเรื่อยๆ  โลกก็จะพาสิ่งหุ้มห่อนี้ติดตัวโลกไปด้วย  ไม่มีอะไรมาปัดเป่ากระแทกให้แก๊สหลุดออกไป ดังนั้นทั้งแก๊สโอโซนและแก๊สเรือนกระจกก็จะไปไหนไปกันกับโลก

               ช่องโหว่งโอโซนของโลกตรงกับออสเตรเลีย  ทำให้รังสีจากแสงอาทิตย์ทะลุเข้ามา รับรังสีเต็มๆ  เป็นอันตรายต่อสายตาและผิวหนัง

               บรรยากาศชั้นหุ้มห่อโลกมีทั้งชั้นโอโซนและชั้นแก๊สเรือนกระจกอยู่สูงกว่าเมฆฝน  น้ำฝนหมดสิทธิ์ที่จะไปชะล้างทำให้แก๊สกลายเป็นสารละลายตกลงสู่พื้นดิน

               โอโซนเป็นออซิเจน  3  เจอแก๊สเรือนกระจกที่ไม่มีออกซิเจนก็จะไปจับกับออกซิเจนหรือไปกินชั้นโอโซนนั่นเองทำให้ชั้นโอโซนทะลุ  ปกติชั้นโอโซนป้องกันรังสีได้ส่วนหนึ่งไม่ให้ตกมาที่พื้นดิน เหมือนฟิล์มกรองแสงติดกระจกรถยนต์  จุดที่ชั้นโอโซนทะลุก็คือบริเวณที่ฟิล์มกรองแสงหลุด  ชั้นโอโซนและแก๊สเรือนกระจกก็เหมือนกระจกรถยนต์ติดฟิล์มนั่นเอง  หากมีปริมาณพอดีๆ  แถวๆ  ความเข้มข้นไม่เกิน  400  PPM  ก็จะเก็บความร้อนให้โลกได้พอดีๆ  กับการดำรงชีวิตหากความเข้มข้นเพิ่มเป็น  650-1200  PPM  ก็จะเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกระจกรถปิดสนิท ความร้อนเข้ารถแล้วออกไม่ได้  ความร้อนในตัวรถก็จะเพิ่มขึ้นอยู่รวดเร็วเหมือนอุณหภูมิโลก ในขณะนี้ร้อนมากๆ  แอร์ในรถยนต์ก็เอาไม่อยู่ เหมือนโลกตอนนี้น้ำแข็งขั้วโลกก็เอาไม่อยู่ ต้องยอมแพ้ละลายไปเรื่อยๆ 

 

6.  การเกิดภาวะโลกร้อน (Process of  Hot Climate)

               กระบวนการเกิดภาวะโลกร้อนเกิดจากความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องมาที่โลกเจอชั้นบรรยากาศที่เป็นชั้นเรือนกระจกก่อนบางส่วนของแสงเจอชั้นเรือนกระจกก็สะท้อนออกไปบางส่วนก็ทะลุเข้ามาภายในเรือนกระจกที่ห่อหุ้มโลก บางส่วนก็เจอช่องโหว่งชั้นโอโซนทะลุก็ผ่านเข้าเต็มๆ 

               ส่วนที่ผ่านชั้นแก๊สเรือนกระจกเข้ามาก็จะวิ่งทะลุมาชนผิวโลกที่เป็นของแข็งบางส่วนก็ซึมซับลงแผ่นดินแผ่นหินแผ่นน้ำต้นไม้อาคารสิ่งก่อสร้าง แล้วบางส่วนก็สะท้อนขึ้นสู่ท้องฟ้าจนชนชั้นเรือนกระจกบางส่วนก็ซึมออกไปบ้าง  ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของแก๊สเรือนกระจก หากเจือจางก็ซึมแทรกออกไปแค่ตอนนี้ความเข้มข้นสูงก็จะสะท้อนกลับมายังโลกอีก คือลงสู่ผิวของแข็งของโลกแล้วสะท้อนขึ้นบน  ซิ่งไปซิ่งมานี้แหละเป็นสาเหตุให้อุณหภูมิอากาศโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เหมือนความร้อนในเรือนกระจกในรถยนต์  ต้องเข้าใจประเด็นนี้ให้ดีเพราะอาจเป็นแนวทางวิจัยเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนว่า ทำอย่างไรให้แก๊สเรือนกระจกเจือจาง หรือทำอย่างไรให้อากาศร้อนทะลุออกไปได้

               การซึมซับความร้อนและแสงแดดมีอีกวงจรหนึ่งคือ  วงจรต้นไม้  ต้นไม้ใหญ่จะซึมซับแสงแดดโดยเฉพาะใบสีเขียวอีกส่วนก็ช่วยเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซค์  (CO2)  มาใช้ในการปรุงอาหารช่วยลดแก๊สเรือนกระจกลอยขึ้นสู่ชั้นเรือนกระจก

               แก๊สเรือนกระจกพวก  CO2  หากอยู่ใกล้พื้นโลกที่ยังไม่ทันลอยขึ้นฟ้าก็จะถูกพืชเอาไปใช้งานถูกฝนมีชะล้างกลายเป็นกรดคาร์บอนิคในสภาพสารละลายไม่ใช่แก๊ส  แก๊ส  CO2  เวลาไปเจอน้ำปูนใสก็จะจับตัวเป็นของแข็ง  CaCo3  ได้เป็นหินงอกหินย้อยนี่เป็นวัฎจักรแก๊ส ของแข็งและสารละลายของ  CO2

         แก๊ส  CO2  ที่อยู่ในรูปของแข็งก็มีอยู่ในต้นไม้  (เผาแล้วได้ถ่าน)  ในหินพวกเพชร  (C)  อยู่ในถ่านหิน  (C)  อยู่ในน้ำมันดิบ  (CHNO)  หากถูกเผาก็จะได้  CO2  เช่นกัน

               ดังนั้นการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลพวกถ่านหิน น้ำมัน จึงเป็นการเอาคาร์บอน  C  ที่อยู่ใต้โลกมาใช้ โดยปกติก็ใช้หมุนเวียนกันบนโลกจากการเผาป่าเผาไม้ฟืนเปรียบเสมือนมาใช้เป็นการใช้เงินสดหมุนเวียนไม่ใช่เอาเงินจากเงินฝากธนาคาร

               นอกจากนี้จากการละลายน้ำแข็งที่มีอายุนับล้านปีในแถบขั้วโลกก็มีการสะสม  CO2  เหมือนเครื่องดื่มอัดแก๊ส ฝังอยู่ในก้อนน้ำแข็งเช่นกัน  เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลายก็จะปลดปล่อย  CO2  เข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่เป็นเรือนกระจกอีกด้วย

 

7.  แก๊สเรือนกระจกมาจากไหน (Gases  Source)

               แก๊สเรือนกระจกมีมาจาก  2  ทาง  คือมาจากธรรมชาติและจากมนุษย์ทำให้เกิดขึ้น

               แก๊สเรือนกระจกจากการสลายตัวธรรมชาติ

               -  ไฟไหม้ป่าเกิด  CO2  ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า

               -  การละลายน้ำแข็งขั้วโลกปล่อย  CO2  ที่เก็บกักไว้

               -  การใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตรพวก  N  เกิดการระเหยในรูปของ  N2O 

         -  นาข้าว  น้ำขัง  ฟาร์มปศุสัตว์ ซากไม้ทับถม แหล่งถ่านหินที่มีแก๊สรั่วออกมาจะเกิดแก๊สมีเทน  CH4  ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า

               แก๊สเรือนกระจกจากการทำของมนุษย์ทางตรง

               -  การเผาไหม้เชื้อเพลิงเกิด  CO2  ปล่อยทางปล่องควันของโรงงานอุตสาหกรรม

               -  การเกิดมีเทน  CH4

         -  ไนตรัสออกไซต์  N2O

         -  ไฮโดรฟลูออร์ไรคาร์บอน  HFCS

         -  เปอร์ฟลูออร์โรคาร์บอน  PCFS

         -  ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรต์  SF6

 

8.  การจัดการแก๊สเรือนกระจก (Green House Effect Management)

               มาตรการด้านการจัดการแก๊สเรือนกระจกมีดังนี้

               1.  ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาเชื้อเพลิงหาทางกำจัดหรือลดโดยใช้เครื่องอุปกรณ์ดักจับหรือทำปฎิกิริยา  การใช้พลังงานอย่างประหยัด

         2.  หาทางทดแทนการใช้งานที่จะเกิดโดยใช้สารที่ไม่ใช้แก๊สเรือนกระจก  เช่นสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ  การใช้พลังงานที่ไอเสียไม่เกิดแก๊สเรือนกระจก  เช่นไฮโดรเจน  น้ำ ลมนิวเคลียร์  (?)  แสงอาทิตย์  ความร้อนใต้พิภพ  คลื่นพลังงานชีวะ

               3.  หามาตรการดักจับแก๊สเรือนกระจกระดับต่ำเหมือนต้นไม้ใหญ่ใช้  CO2  มาใช้งานโดยการปลูกต้นไม้ที่มีประสิทธิภาพดักจับมากๆ  หรือสร้างอุปกรณ์ดักจับ  CO2

         4.  หามาตรการดักจับแก๊สเรือนกระจกที่ระดับเหนือชั้นเมฆฝนปกติเครื่องบินจะปล่อย  CO2  จากไอเสียระดับสูงกลายเป็นปล่อยสารขจัดแก๊สเรือนกระจกหรือพ่นโอโซนใส่ชั้นบรรยากาศ

               5.  หามาตรการล้างกระจกที่ชั้นบรรยากาศโดยใช้มาตรการทางเคมี  ยานอวกาศ  ยานบิน  การปล่อยจากระดับพื้นขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

               6.  การหาทางกำจัดแก๊สเรือนกระจก  โดยเฉพาะ  CO2  โดยอัดไปเก็บในชั้นใต้ดิน เก็บกักเอาไว้ในถังความดันหรืออุโมงค์ใต้ดิน แต่ระวังการรั่วไหลในอนาคต ขณะเกิดแผ่นดินไหว

               7.  หาทางการทำให้แก๊สเรือนกระจกแปรสภาพจากแก๊สเป็นของแข็งหรือสารละลายของเหลว  เช่นน้ำปูนใสใสใน  CO2 

                              CO2 + CaOH  ----à  CaCO3

8.  โครงการประหยัดพลังงานต่างๆ  ที่สร้างแก๊สเรือนกระจก  ไม่ว่าจะเป็นอาคารประหยัดพลังงานอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า  รถไฟฟ้า  ฝึกให้คนมีนิสัยประหยัด  ลดการบริโภคนิยมที่เชื่อมโยงไปถึงแก๊สเรือนกระจก ตลอดจนประดิษฐหรือใช้อุปกรณ์ที่ไม่มีขนาดโตเกินจำเป็น

9.  ควรประดิษฐยานที่ใช้ไฟฟ้าเพื่อลดการเผาไหม้แล้วเกิด  CO2  ที่ท่อไอเสียแล้วปล่อยไปทั่ว เพราะพลังงานไฟฟ้ามีที่มาจากลม  ปฎิกริยาเคมี  ความร้อนใต้พิภพ  น้ำตก  แสงแดด ชีวพลังงาน

10.  ค้นหาเทคโนโลยีที่ปฎิบัติได้คุ้มค่ามาใช้ในการเก็บเกี่ยวฟางหญ้าไม้พุ่ม เอามาเป็นเชื้อเพลิงโดยไม่เผาทิ้งหรือปลูกพืชโดยไม่ต้องเผา  ลดปัญหาควันไฟป่า เต็มท้องฟ้าหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว

 

9.  บทบาทภาครัฐ  (Government Role)

         จากปัญหาภาวะโลกร้อนระดับโลกก็มาเป็นระดับประเทศนั่นคือต้องมีบทบาทดังนี้

               1.  ความร่วมมือระดับโลก  วางภาพรวม  วางเป้าหมาย  แบ่งงานเป็นส่วนๆ  กระจายแบ่งงานกันทำในระดับประเทศ

               2.  ส่งเสริมโครงการประหยัดพลังงานตั้งแต่ระดับรากหญ้า  พ่อค้า  ธุรกิจ  อุตสาหกรรม  ตามมาตรการภาษีการให้ความรู้   ส่งเสริมรายได้การเก็บภาษีเพิ่มตามขนาดกระบอกสูบเครื่องยนต์

               3.  ทำวิจัย  ให้ทุน  ขยายผล  ให้ครอบคลุม

               4.  ปลูกพืชพลังงานให้มากๆ  ได้ทั้งป่า  อาหาร  เชื้อเพลิงแข็ง  เชื้อเพลิงน้ำมัน

               5.  ส่งเสริมพฤติกรรมประหยัดทุกรูปแบบตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

               6.  ใช้การขนส่งมากๆ  (mass  transportation)  เช่นรถไฟฟ้า  แทนรถยนต์ส่วนตัว

               7.  ออกแบบวางผังเมืองที่ประหยัดพลังงานด้านการระบายลม  การเดินทางที่น้อย  ผังเมืองกระจาย  ไม่รวมกระจุก  มีงานทำทั่วไปไม่กระจุกแต่ในตัวเมือง  หรือเฉพาะเมืองหลวง

               8.  ปรับปรุงระบบขนส่งสินค้า  (Logistic)   ให้ขนส่งมากๆ  ต้นทุนถูกๆ  เช่น  เรือ  รถไฟ  หรือถนน  ที่แข็งแรง  (บรรทุกเท่าไร  ถนนก็ไม่พัง)

               9.  แก้ปัญหารถติดให้ได้เพราะใช้พลังงานเปลืองมาก

               10.  ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน #  5 

               11.  ปลูกต้นไม้ที่ให้ออกซิเจนมากๆ  ใครปลูกมากก็ลดภาษีได้

               12.  ส่งเสริมการเดินทางด้วยจักรยาน  โดยจัดเส้นทางโดยเฉพาะ

               13.  ภาครัฐอาจจัดให้มีจักรยานปั่นไฟฟ้าสายพานวิ่งปั่นไฟฟ้ามือโยกปั่นไฟฟ้าวางตามสถานที่ต่างๆ ให้ประชาชนมาปั่นไฟฟ้าแล้วแลกกับเงิน  ปั่นเสร็จมีเงินจ่ายค่าปั่นออกมาจากตู้

               14.  สร้างเสริมอาคารประหยัดพลังงานวัสดุประหยัดพลังงานอาคารใช้เครื่องปรับอากาศ

               15.  รณรงค์อย่ามีลูกมากเป็นการเพิ่มประชากรที่จะใช้พลังงานมาก

 

10.  บทบาทวิศวกรตามภารกิจหน้าที่ (Engineer Role)

               วิศวกรมีบทบาทมากในภาวะโลกร้อนเพราะมีงานหลายๆ  ด้านที่เกี่ยวข้องดังนี้

              

1.  งานวิจัยและพัฒนา (Research and Development )

               นิยามปัญหา  ค้นหาวิธีการ  หาหลักการปรับปรุงแก้ไข  การประยุกต์ใช้งาน  โดยใช้หัวเรื่อง ลดปัญหาโลกร้อนในการจัดการแก๊สเรือนกระจก

2.  งานออกแบบ (Design)

               งานออกแบบในมุมลดภาวะโลกร้อนโดยการออกแบบให้เครื่องจักรมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงาน กำหนดมาตรฐานแบบเพื่อป้องการการออกแบบที่สิ้นเปลือง การใช้วัสดุที่ไม่เกิดแก๊สเรือนกระจกในเรื่องวัสดุที่ทำและพลังงานที่ใช้ตลอดจนออกแบบให้ใช้วัสดุทดแทนเชื้อเพลิงสะอาดมาใช้งานได้  หรือออกแบบเพื่อป้องกันการใช้งานที่ทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจก  การออกแบบใช้พลังงานจากแรงโน้มถ่วงให้เกิดประโยชน์จากความรู้  ความชัน  ความลึก  การได้เปรียบเชิงกล

3.  ดูแล (Monitoring)

         งานวิศวกรรมมีต้องดูแลให้เครื่องจักรมีประสิทธิภาพอาจใช้วิธีการดูแลที่ดี  (TPM)  การเฝ้าระวังจัดผลและแก้ไขให้ดี  การเลือกใช้อะไหล่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  กำหนดหลักการพิจารณาสินค้ารับรองสินค้าที่ไม่สร้างภาวะเรือนกระจกเพิ่มขึ้น

4.  การควบคุม (Control)

               การควบคุมการติดตั้ง  กระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้เกิดของเสีย  (Loss)  การลดการปล่อยของเสีย  การเอาของเสียมาใช้ประโยชน์ทดแทนวัตถุดิบ

5.  การส่งเสริม (Promotion)

         การให้ความรู้ภาคประชาชน  ผู้บริโภคให้เข้าใจถูกต้อง  การชวนเชิญมาต่อสู้กับภาวะโลกร้อนในฐานะลูกค้า  โดยคัดเลือกซื้อสิ่งที่เป็นมิตรกับโลกมาใช้งานและลดละเลิกสินค้าที่ทำลายโลกหรือสร้างแก๊สเรือนกระจก

 

11.  บทบาทวิศวกรตามสาขาวิชาชีพ (Engineering Fields)

วิศวกรเหมืองแร่

               -  ลดระยะทางขนส่งในการออกแบบ

               -  ปลูกต้นไม้ฟื้นฟูมากๆ  ควบคู่การทำเหมือง

               -  ปลูกต้นไม้ให้พลังงานทดแทนเชื้อเพลิงและน้ำมันในรูปของถ่านความร้อนสูงทดแทนถ่านหินและน้ำมันไบโอดีเซลทดแทนน้ำมันดีเซล

               -  ใช้วัสดุน้ำมันเหลือใช้กลีเซอรีนมาทดแทนน้ำมันดีเซลในการผสมปุ๋ยระเบิดหิน

               -  ผลักดันใช้งานไบโอดีเซลกับเครื่องจักรกลหนัก

               -  ใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

               -  ออกแบบโรงงานย่อยหินโดยใช้ความชัน  ความสูงให้เกิดการประหยัดวัสดุก่อสร้าง  พลังงานในการผลิต

               -  วิธีปรับปรุงลดปริมาณวัตถุระเบิดต่อตันหินเพื่อลดการปล่อยแก๊สสู่บรรยากาศ

วิศวกรอุตสาหการโรงงาน

         -  สร้างโรงปั่นไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนเหลือใช้  (Waste  Heat  Generator)

            -  การใช้วัสดุทดแทนและเชื้อเพลิงทางเลือก  (Alternative  Fuel  and  Raw  Material)  มาใช้ในโรงงาน

               -  ลดการปล่อยควัน  CO2 , NOx  จากปล่องควันโดยการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ หาอุปกรณ์ดักจับที่ทรงประสิทธิภาพ

               -  ดักจับแก๊สลงสู่น้ำให้กลายเป็นของแข็งหรือสารละลาย

               -  หากระบวนการผลิตที่ลดอุณหภูมิในการเผาการหลอมเหลว  เช่นการใช้  CaF  ลดจุดหลอมเหลว

               -  ดูแลควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

วิศวกรเคมี

         -  หาสารดักจับแก๊สเรือนกระจกก่อนปล่อยออกทางปล่องควัน

               -  หาวัสดุทดแทนแก๊สเรือนกระจกมาใช้ในกระบวนการผลิต

               -  ลดการผลิตพลังงานที่ทำให้เกิด  CO2 

         -  หาพลังงานที่ไม่เกิด  CO2  อาจเป็น  H2  มาใช้เป็นพลังงาน

               -  วิจัยหาวิธีล้างชั้นบรรยากาศล้างแก๊สเรือนกระจก

วิศวกรโยธา

         -  อาคารประหยัดพลังงาน

               -  อิฐฉนวนประหยัดพลังงาน

               -  ถนนแข็งแรงรับน้ำหนักมากๆ  บรรทุกมากๆ   โดยไม่พังง  ราคาก่อสร้างถูกๆ 

               -  การทำถนนรีไซเคิล

               -  การก่อสร้างที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน

               -  ออกแบบการก่อสร้างอาคาร  แบบอาคาร  ที่วัสดุมีที่มากการผลิตมีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกน้อยที่สุด  อาจเป็นบ้านดิน  บ้านหิน  จนถึงอาคารใหญ่ๆ 

               -  ทำทางเจาะอุโมงค์ลดระยะทางถนนวิ่ง

วิศวกรไฟฟ้า

               -  เพิ่มความสูงเสาไฟฟ้าจะได้ไม่ตัดต้นไม้ใต้สายไฟฟ้าจนไม่รู้จักโต

               -  ปั่นไฟฟ้าจากระบบพลังงานที่ไม่เกิดแก๊สเรือนกระจก  เช่นจากน้ำทะเล  ไฮโดรเจน  น้ำตก  ความร้อน  ใต้พิภพ

วิศวกรเครื่องกล

               -  ออกแบบล้อรถยานพาหนะรับแรงได้มากๆ  จะได้วิ่งได้น้อยเที่ยว  ลดการใช้พลังงาน

               -  ออกแบบเครื่องมือเก็บเกี่ยวหญ้าฟางต้นไม้ในทุ่งนาไร่แทนการเผาทิ้งแต่เอามาขายได้

               -  ออกแบบเครื่องยนต์ให้สันดาปสมบูรณ์

               -  ทำอุปกรณ์ดักจับความร้อนเอามาใช้งานใหม่หรือเอามาปั่นไฟฟ้า

วิศวกรสิ่งแวดล้อม

               -  ศึกษาธรรมชาติวิธีในการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก  หรือแก๊สชนิดใหม่ที่ไปกำจัดแก๊สเรือนกระจกในท้องฟ้า

               -  หาวิธีชะลอการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก

               -  ค้นหาวิธีจับควันปล่องโรงงานอุตสาหกรรม

               -  จัดสมดุลย์การลดแก๊สเรือนกระจก

               -  วิจัยการอุดช่องโหว่งชั้นโอโซน

วิศวกรเครื่องบิน

         -  ออกแบบเครื่องยนต์ที่ลดการปล่อยไอเสีย  CO2

         -  ค้นหาวิจัยเชื้อเพลิง  H2  มาใช้งานแทน

               -  ค้นหาเทคนิคการใช้เครื่องบินปล่อยสารล้างแก๊สเรือนกระจกขณะทำการบินไปด้วย

วิศวกรคอมพิวเตอร์

               -  ออกแบบระบบควบคุมการเผาไหม้ให้สมบูรณ์

               -  จัดทำฐานข้อมูลการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน

วิศวกรเกษตร

               -  ออกแบบเครื่องจักรกลเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีเช่นอุปกรณ์ตากแห้งด้วยแสงแดด

               -  การใช้ไบโอดีเซลในงานเกษตรกรรม

               -  เทคนิคการเก็บเกี่ยวเชื้อเพลิงชีวมวลมาใช้ทดแทนถ่านหิน

วิศวกรวัสดุศาสตร์

               -  ถุงพลาสติกจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่จากปิโตรเลี่ยม

               -  ออกแบบวิสดุทนทานจะได้ไม่ต้องมาหล่อหล่อมใหม่สิ้นเปลืองพลังงาน

 

12.  บทส่งท้าย (Finally)

               จะเกิดอะไรขึ้นหากอุณหภูมิโลกร้อนขึ้นอีก  5-6  องศา  ซ.ในอนาคตเป็นสิ่งที่น่าคิด คงมีภัยพิบัติตามมาอีกหลายอย่าง  การแก้ไขอย่าคิดแค่บรรเทาหรือชะลอการเกิด  แต่ควรคิดที่จะแก้ให้ตรงการสาเหตุด้วย  โดยหลายๆ  ฝ่ายมาช่วยๆ  กัน  โดยเฉพาะทางด้านวิศวกรรมจะช่วยได้มาก  สิ่งที่ฝากไว้อีกเรื่องเอาไว้เป็นข้อคิดวิกฤติและโอกาส  หากน้ำแข็งขั้วโลกละลายมีอะไรบ้าง จะทำให้เส้นทางการเดินเรือสั้นเข้า   เป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน ที่จะมาช่วงชิงกันต่อ

บริหารเชิงผลิภูมิปัญญา
Management by Budding Wisdom

สมหวัง  วิทยาปัญญานนท์

20  เมษายน  2551


ไม่มีความคิดเห็น: